หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบลอมก๋อย ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน/เทศบัญญัติ
งบประมาณรายจ่าย
แผน/เทศบัญญัติ
งบประมาณรายจ่าย
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
E-Service
E-Service
เทศบาลตำบลอมก๋อย
 
 
 
NEWS
“อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ” สู้โควิด-19
 
 
 
ข่าวสาร
 
 


 
ประชาสัมพันธ์ และการใให้ความรู้การป้องกันเอดส์  
 


โรคเอดส์เกิดจากอะไร แตกต่างจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร ?
โรคเอดส์คือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยโรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 8-10 ปี ทำให้ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อน อาทิเช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น

ในปัจจุบันสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างรวดเร็ว และให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีเชื้อเอชไอวีเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย และป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ระยะโรคเอดส์ได้

เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้อย่างไร ?
เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเอชไอวีผ่านทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลัก ๆ มี 3 ทางดังนี้
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีโอกาสรับเชื้อได้ 3 ช่วง คือ ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และ กินนมแม่

เชื้อเอชไอวีไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การจับมือ การกอด การรับประทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งไม่ติดต่อผ่านการถูกยุงกัด  นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส จะสามารถลดปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลา 6 เดือน หลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จะกดปริมาณไวรัสลงจนแทบจะตรวจไม่พบ หลังจากนั้นโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปที่คนอื่น ๆ เช่น คู่นอน หรือ ลูก จะลดลงอย่างมาก ดังที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ตรวจไม่พบเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ

เราจะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอชไอวี ?
เด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงแรกอาจไม่มีอาการใด ๆ เพราะโดยทั่วไปใช้เวลาอีก 8-10 ปี จึงจะมีอาการแสดงของโรคเอดส์  ดังนั้น แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองเอชไอวี ในการตรวจสุขภาพประจำปี มีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น เนื่องจากการตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเอดส์ได้ นอกจากนี้หากวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือ เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิซ หนองใน ควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการตรวจทำได้อย่างรวดเร็วใช้เวลารอผลตรวจเพียง 2 ชั่วโมง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชาชนสามารถเข้ารับการตรวจเอชไอวีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้เยาวชนอายุ 13-18 ปี ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี สามารถไปรับตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้โดยไม่ต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครอง

โรคเอดส์ และ การติดเชื้อเอชไอวีรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
ในปัจจุบันมียาต้านไวรัสเพื่อใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี ยาต้านไวรัสจะช่วยฟื้นฟูภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับมาเป็นปกติ หายจากโรคเอดส์ได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรงใกล้เคียงกับคนปกติได้ อย่างไรก็ตาม การกินยาต้านไวรัส จำเป็นต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันไปตลอดชีวิต มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนายาต้านไวรัสใหม่ ๆ เช่น ยาชนิดฉีด หรือ ยาฝัง ที่ในอนาคตน่าจะมีใช้ทำให้สะดวกมากขึ้นกว่ากินยาทุกวัน เคยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนไม่มากที่รักษาหายขาด แต่เป็นการรักษาด้วยวิธีการพิเศษ เช่น ปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น ดังนั้นในปัจจุบันเป้าหมายการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ป่วยเป็นเอดส์ รวมทั้ง ไม่ถ่ายทอดเชื้อไปที่ผู้อื่น โดยเน้นการกินยาต้านไวรัสต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกวัน

ป้องกันการติดเขื้อเอชไอวีได้อย่างไร
สำหรับการป้องกันทารกที่จะติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีแล้วไม่ทราบหรือไม่ได้ป้องกัน ทารกมีโอกาสติดเชื้อจากมารดาได้ถึง ร้อยละ 25 (หรือ 1 ใน 4) แต่หากหญิงตั้งครรภ์ทราบและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนดีแล้ว โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อต่ำลงมาก น้อยกว่า ร้อยละ 1 (น้อยกว่า 1 ใน 100)  การป้องกันทารก ทำได้โดยการตรวจคัดกรองเอชไอวี ในคู่สามี-ภรรยา ที่วางแผนจะมีลูก หรือ เมื่อเริ่มไปฝากครรภ์ หากตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ ให้รีบรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และ ให้ทารกงดนมมารดา และให้ทารกรับประทานยาต้านไวรัสอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้

สำหรับการป้องกันวัยรุ่นที่รับเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติให้วัยรุ่นตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และคิดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณากินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ (หลักการคล้ายกับการใช้ฮอร์โมนยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์) แบ่งเป็น กินยาต้านไวรัสหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (เพ็พ) โดยกินยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุดภายในเวลาไม่เกิน 3 วันหลังมีความเสี่ยง โดยกินยาต้านไวรัสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ กินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส (เพร็พ) โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดทุกวันในช่วงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง

โดยสรุป การติดเชื้อเอชไอวี ไม่เท่ากับ การป่วยเป็นโรคเอดส์ การวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการดำเนินโรคสู่ระยะเอดส์ และ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสยังช่วยให้ผู้ที่เคยเป็นเอดส์ กลับมาแข็งแรงใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นการกินยาสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ และ การที่กินยาต้านไวรัสจนเชื้อในร่างกายเหลือน้อยมาก จะช่วยลดการถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนอื่นอีกด้วย เชื้อเอชไอวีไม่ติดต่อทางการสัมผัส หรือ การใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน ทั้งที่บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงาน ดังนั้นหากคนในสังคมเปิดใจยอมรับ และพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะช่วยให้เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีและครอบครัวของผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

 

ข่าว ณ. วันที่ 22 พ.ย. 2565 เวลา 11.35 น. โดย คุณ เพลินพิศ จันจินา

ผู้เข้าชม 338 ท่าน

 
 
 
 
    ภาษีป้าย
    ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
คำแนะนำการชำระภาษี
 
ระเบียบ
แบบฟอร์ม เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ประชาชน
ในการติดต่อราชการ
คู่มือประชาชน
 
Omkoi Municipality
 
 
แผนที่ดาวเทียม
  Google Earth
Naxsolution
  เว็บไซต์เพื่อท้องถิ่นไทย
 
 
   
ศูนย์ดำรงธรรม
  รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
ตลอด 24 ชั่วโมง
 
 
เทศบาลตำบลอมก๋อย
ยินดีให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ
 
 
 
 
 
 
เทศบาลตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย
จังหวัดเชียงใหม่ 50310
โทรศัพท์ : 053-467058 โทรสาร : 053-467013 ต่อ 18
รับเรื่องร้องเรียน
053-467058
 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537
เทศบาลตำบลอมก๋อย
จำนวนผู้เข้าชม 12,816,287 เริ่มนับ 29 พ.ย. 2557
จัดทำโดย : NAXsolution.com
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10